วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

2.2.10 ตกแต่งภาพอย่างสร้างสรรค์ด้วยฟิลเตอร์
         ชุดคำสั่งของฟิลเตอร์มีทั้งหมด 11 ชุด แต่ละชุดจะมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน ได้แก่ ชุดคำสั่ง Blur เป็นชุดคำสั่งสำหรับการกำหนดรูปภาพให้เบลอ ประกอบด้วยรูปแบบการเบลอหลายๆ แบบ เช่น Average, Blur, Blur More เป็นต้น เนื่องจากรูปแบบในแต่ละชุดคำสั่งมีความหลากหลายมาก ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างเฉพาะบางรูปแบบของแต่ละชุดคำสั่ง ผู้ใช้สามารถทดลองเลือกรูปแบบอื่นๆ ได้ตามต้องการ
          การใช้ Filter >> Artistic >> Colored Pencil
          1. คลิกเลือก Filter บนแถบ Menu Bar คลิกเลือก Artistic และคลิกเลือก Colored Pencil เพื่อปรับแต่งภาพให้เป็นแบบดินสอสี
          2. จะปรากฏหน้าต่าง Colored Pencil

 

          3. การปรับแต่งภาพ
                      Pencil Width ค่าหนา/บาง
                      Stroke Pressure ค่าน้ำหนักขอบเส้น
                      Paper Brightness ความขาวสว่าง
          4. คลิก OK เพื่อตกลงใช้คำสั่ง

        การใช้ Filter >> Artistic >> Cutout
          1. คลิกเลือก Filter บนแถบ Menu Bar คลิกเลือก Artistic และคลิกเลือก Cutout เพื่อปรับแต่งภาพให้เป็นแบบการลงพู่กันเป็นโครงร่าง
          2. จะปรากฏหน้าต่าง Cutout


          3. การปรับแต่งภาพ
                      Number of Levels  ค่าลายน้ำ
                      Edge Simplicity  ค่าความแน่นของลาย
                      Edge Fidelity  ค่าความแน่นของสี
          4. คลิก OK เพื่อตกลงใช้คำสั่ง


การใช้ Filter >> Artistic >> Dry Brush
          1. คลิกเลือก Filter บนแถบ Menu Bar คลิกเลือก Artistic และคลิกเลือก Dry Brush เพื่อปรับแต่งภาพให้เป็นแบบภาพเขียน
          2. จะปรากฏหน้าต่าง Dry Brush


          3. การปรับแต่งภาพ
                      Brush Size ขนาดแปรง
                      Brush Detail ปรับรายละเอียด
                      Texture ปรับค่าลวดลาย
          4. คลิก OK เพื่อตกลงใช้คำสั่ง


การใช้ Filter >> Artistic >> Film Grain
          1. คลิกเลือก Filter บนแถบ Menu Bar คลิกเลือก Artistic และคลิกเลือก Film Grain เพื่อปรับแต่งภาพให้เป็นแบบภาพฟิล์ม
          2. จะปรากฏหน้าต่าง Film Grain


          3. การปรับแต่งภาพ
                      Grain ค่าลายน้ำ
                      Highlight Area เน้นพื้นที่
                      Intensity ค่าความเข้ม
     



   4. คลิก OK เพื่อตกลงใช้คำสั่ง

การใช้ Filter >> Artistic >> Fresco
          1. คลิกเลือก Filter บนแถบ Menu Bar คลิกเลือก Artistic และคลิกเลือก Fresco
เพื่อปรับแต่งภาพให้เป็นแบบการลงสีน้ำ
          2. จะปรากฏหน้าต่าง Fresco


          3. การปรับแต่งภาพ
                      Brush Size ขนาดแปรง
                      Brush Detail ปรับรายละเอียด
                      Texture ปรับค่าลวดลาย
          4. คลิก OK เพื่อตกลงใช้คำสั่ง

การใช้ Filter >> Artistic แบบอื่น    นอกจากที่ได้ยกตัวอย่างมาอธิบายข้างต้นแล้ว Filter Artistic ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS2 ยังมีให้เลือกอีกมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละอันก็จะมีหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันไป โดยสามารถกล่าวได้ดังนี้
                      Filter >> Artistic >> Neon Glow  ภาพที่มีแสงสว่างสะท้อน
                      Filter >> Artistic >> Paint Daubs   ภาพวาดแบบการแต้มสี
                      Filter >> Artistic >> Palette Knife  ภาพวาดแบบการใช้สีน้ำ
                      Filter >> Artistic >> Plastic Wrap  ภาพจะเหมือนมีพลาสติกหุ้ม
                      Filter >> Artistic >> Poster Edges  ภาพที่ใช้สีโปสเตอร์ลายเส้นขอบแข็ง
                      Filter >> Artistic >> Rough Pastels  ภาพวาดด้วยสีชอล์ก
                      Filter >> Artistic >> Smudge Stick  ภาพวาดด้วยสีถ่าน
                      Filter >> Artistic >> Sponge  ภาพวาดด้วยฟองน้ำ เปียกเป็นจุดๆ
                      Filter >> Artistic >> Underpainting  ภาพวาดลายน้ำแบบละเอียด
                      Filter >> Artistic >> Watercolor  ภาพวาดแบบการใช้สีน้ำ



2.9 การรีทัชภาพ
วิธีการลบสิว และริ้วรอย
เทคนิคในวันนี้ เราจะมาลองใช้เครื่องมือที่ใช้กันบ่อยในการรีทัชภาพ เพียงคลิกปุ่มเดียว สิว ฝ้า ไฝ หรือ จุดเล็กๆที่ไม่ต้องการก็จะหายไปด้วย Healing Tool



ขั้นที่ 1   เปิดภาพที่ต้องการจะแก้ไขออกมา

ขั้นที่ 2
เลือกเครื่องมือ Healing Tool ผมได้เขียนภาพรวมของเครื่องมือตัวนี้ไว้ด้วย ลองเข้าไปอ่านได้นะครับที่ รู้จักกับ Healing Tool
เมื่อคลิกที่ Healing Tool ค้างไว้ประมาณ 2 วินาที เราก็จะเห็นเครื่องมือย่อย 4 ตัว ซึ่งผมจะใช้เครื่องมือตัวแรกนะครับ Spot Healing Brush Tool แล้วปรับขนาดแปรงให้ใหญ่กว่าหรือใกล้เคียงกับขนาดของสิ่งที่เราจะลบ ในที่นี้ผมใช้ที่ 8-12 pixels
ขั้นที่ 3
จากนั้นก็คลิกที่ไฝหรือสิวหรือริ้วรอยของนางแบบได้เลย Photoshop ก็จะทำการเกลี่ยสีบริเวณที่คลิกให้ดูใกล้เคียงกันโดยอัตโนมัติ เป็นอันเสร็จครับ ง่ายมั้ยหล่ะ
เรายังสามารถใช้เครื่องมือย่อยของ Healing Tool ได้อีกนะครับ โดยคลิกที่ Healing Brush Tool จากนั้นกดปุ่ม Alt ค้างไว้แล้วคลิกตำแหน่ง Source หรือจะเรียกว่าตำแหน่งที่เราจะเก็บค่าสีตั้งต้นไว้ จากนั้นปล่อยมือ แล้วก็ไปคลิกที่ตำแหน่งไฝ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งเช่นกัน
ลองใช้กันดูนะครับ




3. ใช้เครื่องมือ Blur Tool เพื่อความเนียนยิ่งขึ้น






เสร็จเรียบร้อย

2.2.8 การปรับแต่งภาพ
Layer Mask การสร้าง Mask เพื่อใช้กับการแต่งภาพ
การทำ Selection ภาพ หรือ วัตถุ เพื่อตัดภาพ แล้วนำไปวางไว้ใน Background ใหม่ จำเป็นต้องใช้ Mask เพื่อการสร้างชิ้นงานเป็นอย่างมาก มืออาชีพในการแต่งภาพจะใช้วิธีนี้กันทั้งนั้น การใช้ Layer Mask ในการปรับแต่งภาพ จะไม่ทำให้ภาพต้นฉบับถูกทำลาย
Layer Mask สามารถใช้ได้กับ Layer หลายประเภท เช่น Layer ภาพ, Layer Adjustment, Vector Layer (Vector Mask)
ส่วนสำคัญของ Mask แบ่งได้ 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสีดำ จะเป็นการปิดบังภาพ (Conceal) ส่วนที่เป็นสีขาว (Reveal) จะเป็นส่วนที่แสดงภาพ ส่วนที่เป็นสีเทา คือปิดบังบางส่วน หรือก็คือเปิดให้เห็นภาพบางส่วน
การสร้าง Layer Mask จะทำหลังจากได้สร้าง Selection แล้ว เมื่อได้เส้น Selection จากเครื่องมือการทำ Selection แบบใดก็ตาม ให้คลิกที่ไอคอน Add Layer Mask ที่อยู่ด้านล่างของ Layer Panel ก็จะได้กรอบของ Mask รวมอยู่บนเลเยอร์เดียวกับภาพ หรือวัตถุ
ตัวอย่าง ภาพแรกเป็นภาพต้นฉบับ / ภาพที่สองได้ทำ Selection เลือกที่ใบไม้ แล้วทำการ Add Layer Mask เข้าไป เพื่อทำการปิด Background ของภาพแรก / ภาพที่สามเป็นภาพของภาพแรกที่เห็นทะลุลงไปถึงเลเยอร์ Background ใหม่สีส้ม นั่นเพราะ Background ของภาพแรกได้ถูก Mask บังไว้จึงเห็นเป็น Background ใหม่ทันที
ภาพก่อนทำ Selection
ภาพหลังจากทำ Selection แล้วสร้าง Mask ปิด Background
ภาพรวมระหว่างภาพแรก กับ Background ใหม่
การเรียก Layer Mask ขึ้นมาเพื่อปรับแต่ง ทำได้โดยการกดปุ่ม Alt + คลิกที่ Layer Mask เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้ว ให้ทำซ้ำขั้นตอนเดิม เพื่อเป็นการปิดหน้าต่าง Mask
การปรับ Density and Feather สามารถปรับแต่งทั้งสองสิ่งนี้โดย ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Layer Mask หน้าต่าง Properties จะแสดงขึ้นมา ทั้งนี้ยังสามารถเรียกใช้เครื่องมือ Mask Edge, Color Range หรือทำการ Invert Mask ได้ที่นี่เช่นกัน
Density = การปรับความหนาแน่นของในส่วนที่เป็นสีของ Mask
Feather = การปรับความเบลอของขอบ Mask



การคัดลอก Copy Layer Mask ทำได้โดยการกดปุ่ม Alt แล้วคลิกที่ Mask ลากไปยัง Layer ที่ต้องการวาง
การย้าย Layer Mask โดยการคลิกที่ Mask ลากไปยัง Layer ที่ต้องการวาง
การปิด Layer Mask ชั่วคราว บางครั้งต้องการดูภาพก่อนที่ไม่มี Mask ให้ทำโดยกดปุ่ม Shift แล้วคลิกที่ Mask เมื่อต้องการเปิดเหมือนเดิม ก็ให้ทำซ้ำแบบเดิมอีกครั้ง
การลบ Layer Mask ถ้าไม่ต้องการใช้ Mask อีกต่อไป สามารถลบ Mask ได้หลายวิธี
คลิกขวาที่ Mask เลือก Delete Layer Mask
คลิกที่ Mask แล้วลากลงมาที่ไอคอนรูปถัง ด้านล่าง Layer Panel แล้วยืนยันการลบ
คลิกที่ Mask จากนั้นกดปุ่ม Delete
การทำ Selection ด้วยเครื่องมือ Color Range
เครื่องมือทำ Selection ที่สุดยอดตัวหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่คล้ายกับเครื่องมือ Selection รุ่นเก่าคือ Magic Wand Tool  ประสิทธิภาพของเครื่องมือ Color Range สุดยอดอย่างไร ติดตามบทความได้เลยครับ
วิธีเปิดเครื่องมือ โดยโปรแกรมเมนู Select เลือก Color Range จะได้หน้าต่างเครื่องมือดังภาพ การทำ Selection โดยนำเม้าส์ไปคลิกส่วนที่ต้องการทำ Selection บนภาพ ถ้าต้องการทำ Selection ในจุดต่อไป ให้กดปุ่ม Shift + คลิกจุดต่อไปเพื่อให้การทำ Selection ได้พื้นที่มากขึ้น เมื่อน้ำเม้าส์เข้าไปที่บริเวณภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปหลอดดูดสี เมื่อทำการคลิก ส่วนที่ถูกคลิกจะแสดงให้เห็นที่ช่องสี่เหลื่ยมของเครื่องมือ



การกำหนดตำแหน่งโดยเฉพาะเพื่อใช้เครื่องมือ Color Range สามารถทำได้โดยให้ทำ Selection ในส่วนนั้นก่อน แล้วจึงเปิดใช้เครื่องมือ
การยกเลิกการคลิกเพื่อทำ Selection บางครั้งเมื่อคลิกลงบนจุดที่ต้องการทำ Selection แล้วปรากฏว่าเกิดการ Selection มากเกินไป ให้กดปุ่ม Ctrl + Z เพื่อเป็นการยกเลิก หรือ Undo
ส่วนที่ถูก Selection โดยการใช้เครื่องมือนี้ จะแสดงเป็นสีขาว ส่วนสีดำคือส่วนที่ไม่ได้ทำ Selection เมื่อได้ส่วนของ Selection เป็นที่พอใจแล้ว กด OK ก็จะได้เส้น Selection แสดงบนภาพ
ส่วนต่างๆ ของเครื่องมือ
Select = สำหรับกำหนดการเลือกสีในการทำ Selection
Detect Faces = เลือกที่ช่องนี้เพื่อการทำ Selection กับผิวหนัง เครื่องมือจะทำการ Selection ให้โดยอัตโนมัติ ส่วนมากจะใช้สำหรับการเลือกพื้นที่บนใบหน้า
Localized Color Custers = สำหรับกำหนดขอบเขตที่ได้ทำการเลือก เมื่อคลิกเลือกเมนูนี้ จะต้องใช้คู่กับการปรับค่า Range ส่วนมากจะไม่ค่อยมีใครใช้เมนูนี้เพราะไม่มีประโยชน์
Fuzziness = จะเหมือนกับการตั้งค่า Tolerance ของเครื่องมือ Magic Wand Tool
Selection = เลือกเพื่อให้เป็นการแสดงส่วนที่ทำ Selection
Image = เลือกเพื่อให้แสดงภาพ และทำการคลิกเพื่อทำ Selection จากกรอบในเครื่องมือ
Selection Preview = ใช้สำหรับกำหนดประเภทของภาพที่จะทำ Selection
Invert = ใช้สำหรับสลับส่วนที่ถูก Selection
การทำ Selection ด้วยเครื่องมือ Pen Tool
เครื่องมือนี้ใช้สำหรับการทำ Selection เช่นเดียวกับ Color Range แต่ลักษณะการทำของเครื่องมือนี้ จะเป็นการสร้างจุดเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดเส้น ซึ่งเรียกว่าเส้น Path พร้อมกับเกิดการ Selection  ลักษณะของวัตถุที่เหมาะกับการใช้เครื่องมือนี้ ส่วนมากจะมีขอบเรียบ แต่มี Background ที่ค่อนข้างมีรายละเอียดมาก ซึ่งยากกับการใช้เครื่องมืออื่น และเมื่อใช้เครื่องมือนี้แล้ว ภาพที่ได้จะเกิดขอบที่เรียบสวย แถมยังสามารถปรับแต่งเส้น Path ได้อีกหลายแบบ เช่นปรับแต่งรูปร่าง หรือ เติมสี เป็นต้น เครื่องมือนี้อยู่บนแถบเครื่องมือของโปรแกรม Photoshop คีย์ลัด P  เส้น Selection ของเครื่องมือนี้แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ด้วยกัน คือ Shape, Path และ Pixels


การสร้างเส้น Path
เมื่อเลือกเครื่องมือ Pen Tool เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปปากกา และจะมีเครื่องหมาย + แสดงข้างรูปปากกาด้วย หมายถึงเป็นการเริ่มการสร้างเส้น Path การสร้างเส้น Path ทำโดยคลิกลงตรงส่วนที่ต้องการทำ Selection เมื่อคลิกที่จุดแรกเครื่องหมาย + จะหายไป ให้ทำการคลิกต่อไปยังจุดอื่นจนครบรอบวัตถุนั้น

เมื่อสร้างจุดมาจนครบรอบกับจุดแรกที่สร้าง เครื่องหมายวงกลมจะแสดงขึ้นมาให้เห็นข้างเม้าส์รูปปากกา ให้คลิกที่จุดแรกอีกครั้ง จะเป็นการสร้างเส้น Path ที่สมบูรณ์

จากนั้นให้ทำการตั้งชื่อเส้น Path เพื่อทำการบันทึกเก็บไว้ โดยทำที่ Path Panel ถ้า Layer Panel ไม่มี Path Panel แสดงอยู่ ให้ไปที่โปรแกรมเมนู Window เลือก Path เพื่อเปิด Path Panel

การปรับแต่งจุดบนเส้น Path

เครื่องมือในการปรับแต่งจุดของเส้น Path มีด้วยกัน 2 แบบ คือ Path Selection หรือ Direct Selection ซึ่งอยู่บนแถบรวมเครื่องมือของโปรแกรม Photoshop คีย์ลัด A
Path Selection ใช้สำหรับปรับแต่งเส้น Path ทั้งเส้น
Direct Selection ใช้สำหรับการปรับแต่งเฉพาะแต่ละจุดบนเส้น Path แต่สามารถเลือกได้หลายจุด โดยการกดปุ่ม Shift ค้างไว้ และคลิกให้ครบทุกจุดที่ต้องการปรับแต่ง หรือใช้วิธีลากคลุมกลุ่มของจุดเหล่านั้นก็ได้
สามารถใช้ปุ่มลูกศรบนแป้นพิมพ์ เพื่อเลื่อนตำแหน่งของเส้น Path ได้หลังจากที่ทำการคลิกเลือกจุดด้วย Path or Direct Selection Tool
กดปุ่ม Ctrl ค้าง ขณะที่อยู่ในเครื่องมือ Pen Tool จะกลายเป็นเครื่องมือ Direct Selection และกลับกัน


การเพิ่มจุดบนเส้น Path

ก่อนอื่นต้องใช้เครื่องมือ Path Selection หรือ Direct Selection Tool คลิกที่เส้น Path จากนั้นใช้เครื่องมือ Pen Tool คลิกลงบนเส้น Path ตำแหน่งที่ยังไม่มีจุด
การปรับแต่งเส้น Path เพื่อปรับความโค้ง ทำได้ 2 วิธี
หนึ่ง ปรับแต่งขณะสร้างเส้น Path โดยใช้เครื่องมือ Pen Tool  เมื่อคลิกสร้างจุด ให้คลิกค้างไว้แล้วลากออกห่างจากจุด จะเกิดก้านสำหรับใช้ปรับแต่งความโค้งขึ้นมาทั้งสองด้านของจุด ขณะที่เม้าส์ยังคงคลิกค้างไว้ ให้เลื่อนขึ้น ลง หรือ ลากเข้า ออกได้  ขณะลากถ้ากดปุ่ม Shift จะทำให้เส้นที่ลากนั้นเป็นเส้นตรง ถ้าต้องการปรับมุมของก้านโดยไม่กระทบกับแนวของเส้น Path ให้กดปุ่ม Alt เพื่อปรับลากก้านที่ใช้สำหรับปรับเส้น Path

สอง ปรับแต่งหลังจากสร้างเส้น Path แล้ว โดยการใช้เครื่องมือ Direct Selection Tool คลิกบนเส้น Path จะเกิดก้านปรับเส้น Path ที่ตำแหน่งของจุด ซึ่งจะแสดงให้เห็นทั้งสองด้าน นำเม้าส์คลิกที่ปลายของก้านในฝั่งที่ต้องการปรับ ลักษณะการปรับแต่งทำเช่นเดียวกันกับ Pen Tool

การลบจุดบนเส้น Path ทำได้ 2 วิธี

Direct Selection Tool คลิกที่จุดนั้นแล้วกด Delete (กรณีนี้จะทำให้เส้น Path มีช่องว่าง)
Pen Tool เมื่อนำเม้าส์เข้าไปใกล้ตำแหน่งที่มีจุดอยู่แล้ว เครื่องมือ Pen Tool จะแสดงเครื่องหมาย - ให้เห็น เมื่อคลิกที่จุดนั้น จะเป็นการลบ (กรณีนี้เส้น Path จะยังเชื่อมต่อกันครบทั้งเส้น)
การสร้าง Mask และ Vector Mask จากเส้น Path
Mask = คลิก Layer ที่ต้องการสร้าง Mask จากนั้นกดปุ่ม Ctrl แล้วคลิกที่ Path Panel จะได้เส้น Selection  แล้วทำการคลิกไอคอน Add Layer Mask ที่อยู่ด้านล่างของ Path Panel

Vector Mask = คลิก Layer ที่ต้องการสร้าง Vector Mask คลิกที่ Path Panel จากนั้นกดปุ่ม Ctrl แล้วคลิกที่ Add Vector Mask (ใช้ปุ่มเดียวกันกับ Add Layer Mask) หรือจะใช้ปุ่มที่อยู่ด้านล่างของ Layer Panel ก็ได้

สามารถสังเกตุจากสีของ Mask กับ Vector Mask จะต่างกัน แต่หน้าที่ของมันจะเหมือนกัน

การเปลี่ยนเส้น Path เป็น Selection / Shape / Mask
ทำโดยการคลิก ปุ่ม Selection บนแถบควบคุมเครื่องมือ ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็น Mask หรือ Shape ก็ให้กดปุ่มทั้งสองซึ่งอยู่ถัดไป

การเบลอ Vector Mask
เครื่องมือที่ใช้ในการเบลอที่นิยม คือ Gaussian Blur แต่ไม่สามารถใช้ Filter Gaussian กับ Vector Mask ถ้าต้องการทำให้ใช้การปรับค่า Feather จาก Mask Properties Panel โดยการคลิกที่ช่อง Mask จะทำให้ขอบของเส้น Path ใน Vector Mask มีความเบลอ

การสร้าง Layer Path
ทำได้โดยการ คลิกทีปุ่ม Create New Path ซึ่งอยู่ที่ด้านล่างของ Layer Path หรือกดปุ่ม Alt แล้วคลิกที่ปุ่มเดิม แต่ครั้งนี้จะมีหน้าต่างขึ้นมาพร้อมให้ทำการตั้งชื่อ
Rubber Band ไอคอนรูปเฟืองบนแถบควบคุมเครื่องมือ Pen Tool ถ้าคลิกเลือกเมนูนี้ จะทำให้เราเห็นแนวของเส้นที่ Pen Tool จะไปยังจุดต่อไป ทำให้สะดวกในการลากเส้น Path
Convert Point Tool คือเครื่องมือสำหรับใช้ในการสร้างก้านสำหรับปรับจุดเพื่อปรับแต่งเส้นโค้ง โดยการคลิกที่จุดแล้วทำการลากก้านแขนออกมา เครื่องมือนี้อยู่รวมกับกลุ่มเครื่องมือ Pen Tool
การปรับแต่งขอบของภาพด้วย Refine Edge หรือ Refine Mask
การทำ Selection ส่วนที่ยากที่สุด คือ ขนของสัตว์ หรือ ผมของคน หรือ อะไรก็ตามที่ค่อนข้างมีลักษณะที่ฟุ้งกระจาย โปรแกรม Photoshop เวอร์ชั่นเก่าๆ รู้สึกว่าถ้าต่ำกว่า CS5 จะไม่มีเครื่องมือตัวนี้ที่พัฒนาแล้ว เช่น CS5 และ CS6 การทำงานกับส่วนเหล่านี้จะค่อนข้างยาก และเสียเวลามาก แต่เดี๋ยวนี้สบายครับ แต่ก็ต้องใช้ฝีมือ และความชำนาญเหมือนกันนะครับ มือใหม่ต้องหัดทำบ่อยๆ ก็จะชำนาญเอง

เครื่องมือนี้เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือคู่กับการทำ Selection เพราะหลังจากการทำ Selection แล้ว จะต้องใช้เครื่องมือนี้ในการปรับแต่งขอบของ Selection ให้ดูสวยงาม การเปิดเครื่องมือโดยโปรแกรมเมนู Select เลือก Refine Edge หรือใช้คีย์ลัด Alt + Ctrl + R ถ้าเรียกใช้เครื่องมือนี้กับ Selection จะเรียก Refine Edge แต่ถ้าเราสร้าง Mask หลังจากทำ Selection และเป็นการปรับแต่งขอบของ Mask โดยใช้เครื่องมือนี้ จะเรียก Refine Mask ซึ่งนิยมใช้กันมาก


ทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของเครื่องมือ ซึ่งแบ่ง 4 ส่วน ได้แก่

View Mode ส่วนที่ใช้สำหรับการ Preview หรือ View การตั้งค่า หรือ เพื่อดู Original ของภาพ และ Radius
View = ใช้สำหรับปรับเปลี่ยน Background แต่ละแบบ เพื่อดูขอบของ Selection ว่าสมบูรณ์เพียงใด วิธีเปลี่ยน Background ก็เพียงแต่คลิก Background ที่ต้องการ หรือ กด F Background ก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย หรือจะกดคีย์ลัดของแต่ละแบบซึ่งแสดงไว้ก็ได้เช่นกัน
Show Radius = คลิกเลือกส่วนนี้เพื่อดูส่วนของการทำ Radius คียลัด J
Show Original = คลิกเพื่อ Preview ภาพก่อนปรับแต่ง หรือจะใช้คียลัด P                 Edge Detection ส่วนของการตั้งค่า Radius หรือตัวช่วยพิเศษในการค้นหาขอบของ
Radius = ใช้สำหรับตั้งค่าการปรับแต่งขอบของภาพ โดยมีหน้าที่ทำให้ขอบของภาพมีรายละเอียดที่ดีขึ้น เหมาะที่จะใช้กับ เส้นขน หรือ เส้นผม
Smart Radius = เมนูปรับแต่งค่า Radius เมื่อคลิกเลือกจะทำให้การปรับแต่งดีขึ้นโดยอัตโนมัติ
Refine Radius Tool  และ Erase Refinements Tool (ไอคอนรูปแปรง และ ยางลบ)
Refine Radius Tool ไอคอนแปรง ใช้สำหรับการลบสีของ Background ที่ติดมากับขอบของการทำ Selection (การปรับขนาดแปรงทำได้โดยการกดปุ่ม Bracket [ หรือ ] ถ้ากดแล้วขนาดแปรงไม่เปลี่ยนแปลง ให้คลิกที่ช่อง Show Original และ คลิกยกเลิกอีกครั้ง หรือปรับ Size ที่แถบควบคุมเครื่องมือก็ได้
Erase Refinements Tool  ใช้สำหรับลบ Pixel ที่ติดเข้าไปในภาพตอนที่กำหนดค่า Radius
เทคนิค ขณะที่ใช้ Refine Radius Tool แล้วต้องการใช้ Erase Refinements Tool ทำได้โดยการกดปุ่ม Alt ค้างไว้ หรือกลับกัน


Adjust Edge ส่วนของเมนูการปรับขอบของภาพต่างๆ ประกอบด้วย
Smooth = ใข้สำหรับปรับความขรุขระของขอบให้เรียบ
Feather = ค่าความเบลอของขอบ เหมาะที่จะใช้กับขอบของวัตถุที่มีขอบเรียบ หรือเป็นกลุ่มก้อน ไม่เหมาะกับการใช้กับ เส้นขน หรือ เส้นผม
Contrast = ค่าความคมชัดของขอบ
Shift Edge = ใช้สำหรับเลื่อนเส้น Selection เข้า หรือ ออก ห่างจากขอบของวัตถุ เทคนิค ควรตั้งค่าทุกเมนูให้เท่ากับ 0 แล้วค่อยปรับทีละเมนู พร้อมสังเกตุการเปลี่ยนแปลง


Output การกำหนดค่าผลลัพธ์ของภาพ
Decontaminate Colors = ถ้าคลิกเลือกส่วนนี้ จะทำให้เครื่องมือปรับสีของขอบภาพให้เข้ากับสีของ Background ใหม่ พร้อมทั้งสามารถปรับปริมาณสีได้อีกด้วย
Output To = ให้เลือกว่าผลลัพธ์ของภาพ หรือภาพที่ปรับค่าแล้วเป็นอะไร หรือเก็บไว้ที่ใหน ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบด้วยกัน

                                                       ภาพก่อนใช้เครื่องมือ Refine Edge

                                                       ภาพหลังใช้เครื่องมือ Refine Edge

2.2.7 เทคนิคการตกแต่งภาพในเลเยอร์
เทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้ Text ตัวอักษรธรรมดา ดูโดดเด่น และน่าสนใจยิ่งขึ้น เทคนิคนี้ท่านสมาชิก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโลโก้ หรือตกแต่งข้อความ ในเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้ดูโดดเด่นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นค่ะ
1. สร้าง File ขึ้นมาใหม่ขนาดประมาณ 500x300 pixel (สามารถทำ ขนาดใหญ่หรือเล็กกว่านี้ก็ได้ค่ะ)



2. ให้สร้างตัวอักษร โดยคลิกที่เครื่องหมาย   Horizontal Type Tool (T) แล้วพิมพ์ประโยคที่ต้องการ


3.ไปที่ File-->Open เพื่อเปิดภาพที่ต้องการ

4. จากนั้นทำการลากรูป มายังข้อความที่สร้างไว้ โดยคลิกเมาส์ซ้ายค้าง แล้วลากมาปล่อยที่ไฟล์ข้อความ ดังตัวอย่าง
5. ทำการใส่ Layer Mask เพื่อทำให้ภาพเข้าไปอยู่ในข้อความ โดยคลิกที่ Layer รูปภาพ และไปที่ เมนูLayer-->Create Cliping Mask เท่านี้ก็จะได้ข้อความที่มีพื้นหลังเป็นรูปภาพที่เราต้องการแล้วค่ะ
6. จากนั้นมาถึงขั้นตอนตกแต่งให้สวยงาม ขั้นแรก ให้สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่อีก 1 เลเยอร์ โดยคลิกที่เครื่องมือ Duplicate Layer ด้านล่าง
7. ให้คลิกเลือกแถบ Layer ใหม่ที่สร้างขึ้นเมื่อสักครู่ และใช้เครื่องมือ   Brush เลือกหัวแปรงลักษณะฟุ้งกระจาย จากนั้นให้ทาสีลงใน Layer ใหม่ที่เลือกเอาไว้ตอนต้น ดังรูป
8. จากนั้นให้ใส่ Layer Mask โดยทำเหมือน ขั้นตอนที่ 5 คลิกเลือกที่ Layer สี และไปที่ เมนู Layer-->Create Cliping Mask
9. หากสีที่เลือกไว้ตอนแรกยังไม่ถูกใจ สามารถปรับสีได้ โดยเข้ามาที่เมนู Image-->Adjustments-->Hue/Saturetion หรือ Ctrl+U เมื่อปรับได้สีที่ต้องการเรียบร้อยแล้วคลิก OK ได้เลยค่ะ
10. ทำการตกแต่งขอบข้อความให้ดูสวยงามขึ้น โดยดับเบิ้ลคลิกที่ Layer ข้อความ จะมีกล่องเครื่องมือ Layer Style ขึ้นมา จากนั้นให้ คลิกเลือกที่ Stroke และปรับค่าดังนี้ Size = 3, Position = Outside, Blead Mode = Normal, Opacity = 100% ส่วนสีให้เลือกตามต้องการ (จากตัวอย่างใช้สี #c54e0c ค่ะ)
11. เมื่อทำการตกแต่งขอบข้อความ ให้ดูสวยงามขึ้นเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขึ้นตอนการทำให้ข้อความของเรานั้น ดูมีมิติขึ้น โดยดับเบิ้ลคลิกที่ Layer ข้อความ อีกครั้ง (ทำเหมือนขึ้นตอนที่ 10) จะมีกล่องเครื่องมือ Layer Style ขึ้นมา เลือกไปที่ Drop Shadow ปรับค่า Distance = 7 Px, Opacity = 60% เมื่อปรับค่าเรียบร้อยแล้วคลิก OK ได้เลยค่ะ
 ผลงานที่ทำเรียบร้อยแล้ว

Download ไฟล์ตัวอย่าง
แม้ว่าทางทีมงาน Ready Planet จะไม่สามารถ Support โปรแกรม Photoshop ให้ท่านได้ แต่บทความนี้ เป็นความตั้งใจของทีมงานฝ่าย Web Design ที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ท่านได้เป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติม จากโปรแกรม Photoshop เพื่อใช้ในการออกแบบ และตกแต่งภาพบนเว็บไซต์ให้ออกมาสวยงามเท่านั้น

2.2.6 การทำงานกับเลเยอร์
                                        
         เลเยอร์ (Layer) ใน Photoshop เลเยอร์ (Layer) เปรียบเสมือนแผ่นใสที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยแต่ละชั้นจะใช้เป็นที่วางภาพที่เอามาจัดการตามคำสั่งต่างๆของ Photoshop และแสดงผลการทำงานของคำสั่งต่างๆบนแผ่นใสนี้ ทับซ้อนขึ้นมาเรื่อยๆ โดยเปรียบเสมือนแต่ละแผ่นใสเป็นแต่ละเลเยอร์ บริเวณของเลเยอร์ที่ไม่มีรูปจะเห็นทะลุถึงเลเยอร์ที่อยู่ข้างล่าง
ในการทำงานนั้นสามารถซ่อนหรือแสดงผลของภาพในเลเยอร์  สับเปลี่ยนลำดับ  เชื่อมหรือล็อคเลเยอร์เข้าด้วยกันได้ นอกจากนี้หากในการทำงานมีจำนวนเลเยอร์มากเกินไปยังสามารถรวมเลเยอร์ที่ต้องการเข้าด้วยกันได้
การทำงานด้วยโปรแกรม Photoshop นั้น การทำงานด้วยเลเยอร์เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้สามารถสร้างงานได้ง่ายขึ้นและเป็นขั้นตอน  เนื่องจากแต่ละเลเยอร์ทำงานเป็นอิสระต่อกัน มีคุณสมบัติต่างๆ เป็นของตนเอง นอกจากนั้นแล้วยังมีประโยชน์อย่างมากในการกลับมาแก้ไขส่วนต่าง ๆ ของชิ้นงานโดยไม่กระทบกับส่วนอื่นๆ
Layers  Palette
Layers  Palette  เป็นศูนย์รวมของเลเยอร์ทั้งหมดที่มีในภาพ โดยเรียงตามลำดับจากเลเยอร์ ที่อยู่บนสุดไปจนถึงเลเยอร์ที่อยู่ล่างสุด มี Scollbar เลื่อนขึ้นลงเพื่อดูเลเยอร์ต่างๆ แต่ละเลเยอร์จะมีชื่อของเลเยอร์นั้นๆอยู่นอกจากนี้ Layers Palette  ยังเป็นเหมือนตัวควบคุมลักษณะการใช้งานของเลเยอร์ทั้งหมด

ปุ่มคำสั่งในเลเยอร์
กำหนดภาพในเลเยอร์เป็นแบบโปร่งใส
ป้องกันการปรับแต่งหรือแก้ไขภาพ
ป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายภาพในเลเยอร์ที่กำหนด
ป้องกันการแก้ไขภาพในเลเยอร์ทุกรูปแบบ
กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเลเยอร์
กำหนดลูกเล่น  (Style  Effects)  ให้กับเลเยอร์
กำหนด  Layer  Mask  ให้กับเลเยอร์
จัดกลุ่มเลเยอร์  (Layer  Group)
ตกแต่งวัตถุในเลเยอร์ด้วยเทคนิค  Adjustment
สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่
ลบเลเยอร์ที่ไม่ใช้งาน
Active  Layer
ในการใช้งานโปรแกรม Photoshopนั้นแม้จะประกอบไปด้วยเลเยอร์หลายเลเยอร์ แต่การทำงานจะทำได้เพียงครั้งละเลเยอร์เดียวเท่านั้น เลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่เรียกว่า Active Layer ซึ่งใน Layers  Palette จะปรากฏเป็นแถบสีน้ำเงิน  และมีไอคอนปรากฏอยู่ในช่องแสดงสถานะของเลเยอร์ เช่น แสดงว่ากำลังทำการปรับแต่งเลเยอร์อยู่ เป็นต้น
การเปลี่ยนการทำงานไปในเลเยอร์ต่างๆ
สามารถเรียกเลเยอร์ใดขึ้นมาทำงานได้ โดยการเลื่อนเมาส์ไปที่เลเยอร์ที่ต้องการ แล้ว Click  mouse ที่แถบของเลเยอร์นั้นๆ เลเยอร์นั้นจะกลายเป็น  Active Layer โดยทันที
การสร้างเลเยอร์ใหม่
สามารถสร้างเลเยอร์ใหม่ได้หลายวิธีดังต่อไปนี้ คือ
วิธีที่ 1 สร้างโดยใช้คำสั่งที่แถบเมนู มีวิธีดังนี้ คือClick  mouse เลือกคำสั่ง  Layer > New > Layer จะปรากฏหน้าต่าง New Layer
1. Click  mouse เลือกคำสั่ง  Layer > New > Layer จะปรากฏหน้าต่าง New Layer
2. กำหนดชื่อเลเยอร์ใหม่ และกำหนดค่า Opacity และโหมดสีของเลเยอร์นั้น
3. Click mouse ที่ปุ่ม OK.จะได้เลเยอร์ใหม่ที่ปรากฏเหนือเลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น
วิธีที่ 2 สร้างโดยใช้ การ Click mouse ที่ที่เมนู Layers  Palette เลเยอร์ใหม่จะถูกสร้างขึ้นเหนือเลเยอร์ที่เรากำลังทำงานอยู่  พร้อมกับการกำหนดชื่อเลเยอร์โดยอัตโนมัติ
การลบเลเยอร์
1. ลบโดยใช้คำสั่งที่แถบเมนู  Layer > Delete  Layer
2. ลบโดยใช้คำสั่ง  Delete Layer  ที่ Layers Palette โดยคลิกขวาที่แถบ Layer แล้วเลือก Delete Layer
3. ลบโดยใช้ไอคอน ที่ Layer Palette  โดยการ Drag mouse  ลากเลเยอร์ที่เราต้องการลบมาไว้ในไอคอนนี้
การคัดลอก  (Copy)        
การคัดลอกวัตถุในโปรแกรมสามารถทำได้ 2 วิธี คือการคัดลอกภายในไฟล์ กับคัดลอกภายนอกไฟล์  ซึ่งการคัดลอกทั้ง 2 แบบนี้จะได้  Layer ใหม่เพิ่มขึ้นมาเช่นเดียวกัน  โดยมีขั้นตอนดังนี้
การคัดลอกภายนอกไฟล์
1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการย้ายวัตถุขึ้นมา  (ต้นฉบับ)  จากนั้นทำการสร้าง  Selection บริเวณที่ต้องการย้าย เปิดหน้ากระดาษใหม่ หรือ ไฟล์ใหม่ที่ต้องการนำภาพจากต้นฉบับไปวาง
2. เปิดหน้ากระดาษใหม่ หรือ ไฟล์ใหม่ที่ต้องการนำภาพจากต้นฉบับไปวาง
3. เลือกคำสั่ง  Copy
 คลิกเมาส์ที่ไฟล์ปลายทาง จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง Edit เลือกคำสั่ง Paste จะปรากฏวัตถุที่เลือกจากภาพต้นฉบับ มาวางบนไฟล์ภาพปลายทาง โดยจะมี  Layer เพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ และถ้าเราต้องการวางมากกว่า 1 รูป  ก็ใช้คำสั่ง  Edit  เลือกคำสั่ง Paste  วางวัตถุเดิมก็จะได้วัตถุวางไว้บนหน้ากระดาษเพิ่มขึ้นอีก และ Layer ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
การคัดลอกภายในไฟล์
1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการย้ายวัตถุขึ้นมา (ต้นฉบับ) จากนั้นทำการสร้าง Selection บริเวณที่ต้องการย้าย
2. คลิกเลือกเมนูคำสั่ง Edit เลือกคำสั่ง Copy
3. เลือกคำสั่ง Paste จะปรากฏวัตถุที่ทำการเลือกวางบนไฟล์ภาพเดิม โดยจะมี Layer เพิ่มขึ้นมอัตโนมัติ และถ้าเราต้องการวางมากกว่า 1 รูป ก็ใช้คำสั่ง Edit เลือกคำสั่ง Paste  วางวัตถุเดิมก็จได้วัตถุวางไว้บนหน้ากระดาษเพิ่มขึ้นอีก และ Layer ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
การเลือกใช้เลเยอร์ และการเคลื่อนย้ายวัตถุ
เมื่อเราต้องการดูว่าขณะนี้เรากำลังทำงานอยู่ที่เลเยอร์ใดสังเกตว่าจะมีแถบสีน้ำเงินคลุมอยู่ที่เลเยอร์นั้น และการย้ายตำแหน่งวัตถุในเลเยอร์นั้นสามารถทำได้ โดยคลิกเลือกเครื่องมือ  Move Tool  บน Toolbox จากนั้นคลิกในช่องสี่เหลี่ยมให้มีเครื่องหมายถูกที่คำสั่ง
Auto  Select  Layer     คลิกบนวัตถุใดจะเป็นการเลือกเลเยอร์ของวัตถุนั้นโดยอัตโนมัติ
Show  Bounding  Box  ใช้กำหนดให้เกิดกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบเลเยอร์ที่เลือก  
เมื่อคลิกเลือกคำสั่งทั้ง  2  คำสั่งนี้แล้วจะทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุ หรือ เลือกใช้งานวัตถุได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเลือกเลเยอร์ของวัตถุนั้นก็สามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถย่อ – ขยาย และหมุนวัตถุได้เช่นกัน โดยเมื่อเลือกคำสั่ง  Show Bounding Box จะมีจุดแฮนเดิ้ล (Handle)  เพื่อให้สามารถปรับ หรือ หมุนวัตถุได้ง่ายขึ้น
การเปลี่ยนลำดับชั้นของเลเยอร์
เมื่อเราสร้างเลเยอร์ไว้ใช้งานหลาย ๆ เลเยอร์แล้ว และต้องการจะเปลี่ยนลำดับชั้นของเลเยอร์ไว้สำหรับการใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย สามารถทำได้โดยคลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการเลื่อนลำดับขึ้น – ลง  จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปยังตำแหน่งของเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยน  สังเกตว่ารูปภาพจะเปลี่ยนลำดับตามเลเยอร์ที่เปลี่ยนลำดับด้วยเช่นกัน
การล็อคเลเยอร์
การล็อคเลเยอร์  คือการล็อคไม่ให้กระทำสิ่งใดๆ กับเลเยอร์  โดยในการล็อคเลเยอร์ของโปรแกรม  Photoshop  มีรูปแบบต่างๆ อีก 4ตัวเลือก ซึ่งรูปแบบของการล็อคนี้จะอยู่ที่พาเล็ต Layer ตรงคำสั่ง Lock
วิธีการใช้ล็อคเลเยอร์นั้นให้คลิกเมาส์เลเยอร์ที่ต้องการล็อค จากนั้นคลิกตรงสัญลักษณ์ของการล็อคแต่ละชนิดก็จะสามารถใช้การล็อคตามที่เลือกได้ โดยสังเกตว่าเลเยอร์ที่เลือกจะใช้การล็อคนั้นจะมีรูปกุญแจอยู่ตรงท้ายของเลเยอร์ และสัญลักษณ์ของการล็อคที่เลือกก็จะเป็นปุ่มบุ๋มลงไป ดังรายละเอียดของรูปแบบการล็อค ดังนี้
   Lock  Transparent  Pixels  ล็อคส่วนโปร่งใสทำให้ไม่สามารถทำสิ่งใดในส่วนที่โปร่งใสได้
  Lock  Image  Pixels  ล็อคเลเยอร์ทำให้ไม่สามารถปรับสี เติมสี ส่วนใดๆ ของเลเยอร์ได้
  Lock  Position  ล็อควัตถุไว้ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือปรับเปลี่ยนได้
  Lock  All  ล็อคทุกอย่างทำให้ไม่สามารถทำอะไรกับเลเยอร์นั้นได้

การซ่อนและแสดงเลเยอร์
ภาพภาพหนึ่งจะประกอบไปด้วยเลเยอร์หลายเลเยอร์  ในบางครั้งหากเราต้องการปิดบางเลเยอร์ไม่ให้มองเห็นก่อน  เพื่อความสะดวกในการทำงาน โดยที่ไม่ได้ลบเลเยอร์นั้นทิ้งเราสามารถสั่งให้มีการซ่อนและแสดงเลเยอร์ได้โดย
1. ซ่อนเลเยอร์โดย  Click mouse ที่     เพื่อซ่อนเลเยอร์ ซึ่งช่องสถานะนั้นจะเปลี่ยนเป็น เลเยอร์นั้นจะหายไป
2. แสดงเลเยอร์โดย Click mouse ที่  อีกครั้งหนึ่งเพื่อแสดงเลเยอร์ ช่องสถานะจะเปลี่ยนกลับมาเป็น เลเยอร์  นั้นจะปรากฎขึ้นอีกครั้ง
3. ซ่อนและแสดงหลายๆ เลเยอร์พร้อมกัน โดยการ Drag mouse ผ่านแถบช่องสี่เหลี่ยมแสดงสถานะต่างๆ
การลิงค์เลเยอร์
การลิงค์เลเยอร์ คือ การรวมเอาเลเยอร์หลายๆ เลเยอร์มารวมอยู่ด้วยกัน เวลาเคลื่อนย้ายตำแหน่งหรือจัดวางใหม่จะได้กระทำได้ในครั้งเดียว หรือสามารถเคลื่อนย้ายเลเยอร์เหล่านี้ไปด้วยกันได้ โดยไม่ต้องย้ายทีละเลเยอร์ วิธีการสร้างลิงค์เลเยอร์สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. สร้างเลเยอร์ที่ต้องการ ประมาณ 2-3 เลเยอร์  จากนั้นคลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการสร้างลิงค์  โดยกดปุ่ม  Ctrl  ค้างไว้ในขณะที่เลือกเลเยอร์ที่ 2 (สังเกตว่าเลเยอร์ที่เลือกจะมีแถบสีน้ำเงินคลุมอยู่)
2. คลิกเมาส์ที่ไอคอน Link Layers  เพื่อทำการลิงค์เลเยอร์ที่เลือกไว้
3. สังเกตว่าที่ด้านหลังของเลเยอร์ที่เลือกจะมีสัญลักษณ์        อยู่ทุกเลเยอร์ที่เลือก
จากนั้นลองเปลี่ยนลำดับของเลเยอร์ จะเห็นว่าเลเยอร์ที่ลิงค์นั้นจะย้ายไปด้วยกันเสมอ  รวมทั้งรูปภาพที่อยู่ในแต่ละเลเยอร์ด้วยจะย้ายไปด้วยกันเสมอ
และถ้าต้องการยกเลิกการลิงค์เลเยอร์ให้คลิกเมาส์ที่สัญลักษณ์    อีกครั้ง เลเยอร์ที่ทำการลิงค์ไว้ก็จะถูกยกเลิกการลิงค์  รวมทั้งรูปภาพบนหน้ากระดานก็จะไม่รวมกันเป็นกรอบเดียวกัน
การรวมเลเยอร์
               การรวมเลเยอร์ คือการกำหนดให้เลเยอร์หนึ่งไปรวมกับอีกเลเยอร์หนึ่ง หรือรวมเลเยอร์ทั้งหมดในพาเล็ต ให้กลายเป็นเพียงเลเยอร์เดียว ซึ่งการรวมเลเยอร์มีหลายรูปแบบ ดังนี้
Merge  Down   การรวมเลเยอร์สองเลเยอร์เข้าด้วยกัน
Merge  Down  เป็นคำสั่งที่กำหนดให้เลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่รวมกับอีกเลเยอร์หนึ่งที่อยู่ด้านล่าง โดยชื่อของเลเยอร์ที่แสดงผลหลังจากรวมเลเยอร์แล้วจะเป็นชื่อเลเยอร์ที่อยู่ทางด้านล่าง
วิธีการรวมเลเยอร์
1. คลิกเมาส์เลือกเลเยอร์หลัก หรือเลเยอร์ที่อยู่ด้านบน
2. เลือกเมนูคำสั่ง Layers บนเมนูบาร์ จากนั้นเลือกคำสั่ง Merge  Down หรือคลิกเมาส์ทางขวาตรงเลเยอร์ที่คลิกเลือกจากนั้นคลิกคำสั่ง  Merge  Down  เลเยอร์ที่เลือกจะรวมกับเลเยอร์ล่างและเปลี่ยนเป็นชื่อเลเยอร์ด้านล่าง
 Merge visible การรวมเลเยอร์ที่แสดงผลทั้งหมด
Merge Visible เป็นการรวมเลเยอร์ที่ปรากฏสัญลักษณ์รูปดวงตา   ทั้งหมดในพาเล็ต Layers เข้าด้วยกันให้เหลือเพียงหนึ่งเลเยอร์เท่านั้น โดยเลเยอร์ที่ผ่านการรวมนั้นจะจัดเก็บไว้ใน Background Layer ส่วนเลเยอร์อื่นๆ ที่ซ่อนไว้จะไม่ถูกนำมารวม
วิธีการรวมเลเยอร์
1. เลเยอร์ที่กำลังทำงาน หรือ เปิดใช้งานอยู่จะปรากฏสัญลักษณ์
2. ไปที่เมนูบาร์ จากนั้นเลือกคำสั่ง  Layers > Merge  Visible หรือคลิกเมาส์ทางขวาตรงเลเยอร์ที่คลิกเลือกจากนั้นคลิกคำสั่ง  Merge  Visible เลเยอร์ทั้งหมดที่เปิดใช้จะถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นเลเยอร์เดียวกันชื่อว่า  Background
Flatten Image การรวมเลเยอร์ทั้งหมด
Flatten Imageเป็นการรวมเลเยอร์ทั้งหมดที่อยู่ในพาเล็ต Layersซึ่งรวมทั้งเลเยอร์ที่ซ่อนอยู่ทั้งหมด
วิธีการรวมเลเยอร์
1. คลิกเมาส์ที่เลเยอร์จากนั้นไปที่คำสั่งบนเมนูบาร์ แล้วเลือก Layer >Flatten  Imageหรือคลิกเมาส์ทางขวาตรงเลเยอร์ที่คลิกเลือกจากนั้นคลิกคำสั่ง  Flatten  Imageเลเยอร์ทั้งหมดจะถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นเลเยอร์เดียวกันชื่อว่า Background
2. ถ้ามีเลเยอร์ใดที่ซ่อนอยู่โปรแกรมจะมีไดอะล็อคซ์บล็อกซ์ยืนยันการรวมเลเยอร์ทั้งหมดรวมทั้งที่ซ่อนอยู่ด้วย  ถ้าต้องการรวมทั้งหมดให้คลิกที่  OK.
การจัดกลุ่มให้กับเลเยอร์  (Layer  Group)
การจัดกลุ่มให้กับเลเยอร์  เปรียบเสมือนการสร้างแฟ้มเอกสาร เพื่อจัดเก็บเลเยอร์แต่ละชนิดเข้าไว้ด้วยกัน โดยจำแนกเป็นประเภทหรือกลุ่มงานของเลเยอร์เพื่อให้เกิดความสะดวก
วิธีการสร้างกลุ่มให้กับเลเยอร์
1. ในพาเล็ต Layers คลิกปุ่ม New Layer Group     จะปรากฏเลเยอร์ใหม่ที่มีโฟลเดอร์อยู่ด้านหน้าเลเยอร์และจะมีชื่อว่า Group 1
2. ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อกลุ่มให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อ Group 1  แล้วพิมพ์ชื่อใหม่ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม  Enter
3. การเพิ่มเลเยอร์ใหม่ในกลุ่ม ให้คลิกเมาส์ที่ไอคอน จะปรากฏเลเยอร์ใหม่ที่อยู่ใน Group 1
4. การดูเลเยอร์ต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มของ Layer ให้คลิกเมาส์ที่สัญลักษณ์ ซึ่งจะพบกับเลเยอร์ที่อยู่ในกลุ่มเลเยอร์ที่สร้างไว้ ถ้าเป็นสัญลักษณ์หมายถึงเปิดให้เห็นเลเยอร์ที่อยู่ข้างในกลุ่ม
5. ถ้าต้องการนำเลเยอร์ที่อยู่ด้านนอกกลุ่มของเลเยอร์ย้ายเข้าไปอยู่ในกลุ่ม ให้คลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่สร้างไว้แล้ว จากนั้นลากเมาส์ที่เลเยอร์นั้นแล้วนำไปวางที่กลุ่มเลเยอร์ที่ต้องการย้ายเข้าไปจะเห็นว่าเลเยอร์ที่ต้องการย้ายนั้นเข้าไปอยู่ในกลุ่มเลเยอร์ สังเกตได้จากตัวอย่างของรูปภาพจะเขยิบเข้าไปด้านในกลุ่ม
6. ถ้าต้องการย้ายเลเยอร์ออกจากกลุ่มเลเยอร์  ให้ผู้เรียนคลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการย้าย จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วนำมาวางบนเลเยอร์ใดก็ได้ที่อยู่ด้านนอกของกลุ่ม Layer


2.2.5 การสร้างข้อความตกแต่งภาพ
         การสร้างงานกราฟิกนอกจากจะเป็นการนาภาพหลาย ๆ ภาพมาตกแต่งเป็นเรื่องราวแล้ว เรายังสามารถใส่ข้อความประกอบการนาเสนอได้ด้วย ชึ่งเนื้อหาในบทนี้เราจะกล่าวกันถึงเรื่องการใส่ตัวอักษรลงไปในภาพ โดยใช้คาสั่งในตระกูล Type Tool และปรับแต่งตัวอักษรและข้อความต่าง ๆ
รู้จักกับประเภทของตัวอักษร ตัวอักษรที่ใช้ในโปรแกรมกราฟิก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเวกเตอร์ (Vector) ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ จะเกิดจากการลากเส้นตรง เส้นโค้งที่คานวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ จากจุดหนึ่งไปยังสู่จุดหนึ่ง ต่อเนื่องจนเกิดเป็นภาพหรือตัวอักษร
ตัวอักษรแบบเวกเตอร์จะไม่มีปัญหาเรื่องรอยแตกบนขอบตัวอักษร เมื่อเกิดการย่อ/ขยายตัวอักษรมาก ๆ จึงเหมาะสาหรับนามาใช้ในงานสิ่งพิมพ์ และงานศิลป์ อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรแบบนี้จะนาไปตกแต่งเอฟเฟ็กต์โดยใช้ฟิลเตอร์ไม่ได้ แบบบิดแมพ (Bitmap) ตัวอักษรแบบบิตแมพ จะเกิดจากการเรียงช่องสีเป็นตารางเพื่อสร้างภาพ หรือตัวอักษร ทาให้สะดวกในการประมวลผลเรื่องสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงสี และการตกแต่งภาพ ฉะนั้นข้อดีของอักษรแบบบิตแมพ คือ สามารถใช้ได้กับการใส่เอฟเฟ็กต์ และฟิลเตอร์ ในขณะที่ข้อเสีย คือ เมื่อมีการขยายขนาดจะทาให้ ช่องสีขยายใหญ่เกินไปจนเห็นตัวอักษรแตกเป็นช่องเหลี่ยม ๆ
จา
ฉะนั้นหลักการและเทคนิคในการปรับแต่งตัวอักษรที่ดีที่สุด คือ พิมพ์ตัวอักษร (การพิมพ์จะได้ตัวอักษรแบบเวกเตอร์) กาหนดขนาดและดูความถูกต้องของตัวอักษร หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนจากตัวอักษรแบบเวกเตอร์มาเป็นตัวอักษรแบบบิตแมพ เพื่อปรับเปลี่ยนสี และใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับตัวอักษร เพราะถ้าเราแปลงข้อความจากเวกเตอร์เป็นบิตแมพ แล้วต่อจากนั้นมาปรับขนาดทีหลังจะส่งผลให้ตัวอักษรแตกได้ 1.2 เครื่องมือในการสร้างตัวอักษร เราสามารถสร้างข้อความได้ โดยใช้คาสั่ง Type Tool ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป 4 รูปแบบ ดังน
การสร้างตัวอักษรแบบเวกเตอร์ ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ เหมาะสาหรับการนาเสนอข้อความที่มีความคมชัด และมีสีสันเรียบง่าย เพราะตัวอักษรแบบเวกเตอร์ไม่สามารถใส่เอฟเฟ็กต์ได้มากนัก
ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ มีอยู่ 2 แบบ คือ Point type และ Paragraph type ซึ่งต่างกันตรงที่ Point type จะเป็นข้อความชื่อเรื่อง ส่วน Paragraph type จะเป็นข้อความเนื้อเรื่องที่มีหลายบรรทัด หรือมีลักษณะเป็น
ตัวอักษรแบบParagraph
1.คลิกเลือกType Tool ตามที่ต้องการ
2.เลือกขนาดตัวอักษ
3.เลือกสีของตัวอักษร
4.คลิกเมาส์และพิมพ์ข้อความที่ข้อความแนวนอน
5.คลิกเมาส์ยืนยันใช้ข้อความที่สร้างไว้ภาพเริ่มต้นก่อนใส่ข้อความโฆษณา

2.2.4 การจัดว่างและการจัดรูปทรง
             นอกเหนือจากการตกแต่งรูปภาพแล้ว ในโปรแกรม Photoshop ยังมีเครื่องมืออยู่จำนวนหนึ่งที่ใช้สำหรับวาดภาพ หรือสร้างภาพกราฟิกขึ้นมาใหม่ ซึ่งแบ่งออกเป็นเครื่องมีระบายสี กับเครื่องมือเติมสี
เครื่องมือระบายสีจำลองมาจากเครื่องมือวาดภาพจริง โดยมีเครื่องมือ Brush จำลองมาจากพู่กัน เครื่องมือ Pencil จำลองมาจากดินสอสี และเครื่องมือ Eraser จำลองมาจากยางลบ
ส่วนเครื่องเติมสี สำหรับเติมสีภายในขอบเขตที่กำหนดไว้นั้น มีทั้งเครื่องมือเติมสีแบบทึบ คือเครื่องมือ Paint Bucket และเครื่องมือเติมลวดลาย Pattern Stamp และการเติมแบบไล่ระดับเฉดสีเข้มจางด้วยเครื่องมือ Gradient
การใช้ภาษาไทยใน Photoshop
Photoshop CS ไม่สามารถใช้ฟอนด์ชุด UPC ที่มากับ Windows ได้ โดยคุณต้องไปหาฟอนต์ชุดอื่นมาติดตั้ง และมีปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ที่อยู่สูงกว่าปกติ หรือเรียกว่า “วรรณยุกต์ลอย” และพิมพ์ตัว ญ ไม่ได้
สำหรับใน Photoshop CS 2 สามารถใช้ฟอนด์ UPC และพิมพ์ ญ ได้ แต่ปัญหาเรื่อง “วรรยุกต์ลอย” ยังต้องมีการแก้ไขเพิ่มอยู่
แปลงข้อความเป็นรูปภาพ
ข้อความเป็นข้อมูลชนิดเวคเตอร์ Vector เช่นเดียวกับ Shape Layer ดังนั้น คุณจึงไม่สามารถใช้คำสั่งปรับ สี/แสงเงาหรือตกแต่งได้ หากต้องการตกแต่งต้องแปลงข้อความให้เป็นภาพก่อน โดยใช้คำสั่ง Rasterize Layer แต่หลังจากนั้นจะไม่สามารถแก้ไขแบบข้อความได้อีก
สร้างข้อความให้โค้งไปตามเส้นพาธ Text on Path
คุณสมบัตินี้เป็นของใหม่ใน Photoshop CS ซึ่งเราสามารถสร้างข้อความที่ทอดโค้งไปตามแนวเส้น Path ใด ๆ ก็ได้ text on path รวมทั้งสามารถบรรจุข้อความไว้ภายในรุปทรงที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน Text in shape และที่สำคัญคือคุณสมบัติเหล่านี้ใช้กับภาไทยได้ดี
การปรับข้อความ
จะเห็นว่าทิศทางของข้อความที่เราพิมพ์จะไปตามทิศทางของเส้น Path เสมอ นั่นคือเส้นที่ลากจากซ้ายไปขวา ข้อความก็จะอยู่ด้านบนของเส้น ส่วนเส้น Path ที่เราลากจากขวาไปซ้าย ข้อความก็จะอยู่ด้านล่านแต่เราก็สามารถพลิกกลับได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลื่อนตำแหน่งของข้อความที่พิมพ์ได้เช่นกัน
1. คลิกเลือกเครื่องมือ path selection หรือ Direct Selection
2. เลื่อนเมาส์ไปบนข้อความ สังเกตว่าเมาส์จะเป็นรูป l>
3. จากนั้นก็คลิกลากข้อความไปตามเส้น Path เพื่อเลื่อนตำแหน่ง
4. และหากต้องการพลิกพลับข้อความ ก็ทำได้โดยการเลื่อนเมาส์ไปบนข้อความ จากนั้นก็คลิกลากเมาส์ข้ามเส้น Path ข้อความก็จะพลิกกลับตำแหน่ง
5. คลิกปุ่ม /
การนำรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจ
หลังจากที่คุณตกต่างรูปภาพได้สวยงามตามที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือวิธีการนำรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจ โดยการบันทึกและกำหนดขนาดของไฟล์รูปภาพ ประเภท และความละเอียดของรูปภาพ เป็นต้น เพื่อที่จะนำไปใช้กับเว็บเพจนได้อย่างเหมาะสม
คำสั่ง Save for web
เป็นคำสั่งสำหรับการนำรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจโดยเฉพาะ โดยคำสั่งนี้จะให้คุณกำหนดค่าออปชั่นการบันทึกภาพประเภทต่าง ๆ พร้อมกับดูภาพตัวอย่าง ขนาดของไฟล์และระยะเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันได้อีกด้วย
1. เลือกคำสั่ง File > Save for web
2. กำหนดออปชั่นต่าง ๆ ในการแปลงไฟล์ แล้วดูภาพ ขนาด และเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันในไดอะล็อกบ็อกซ์ Save for Web
3. เลือกภาพจากกรอบตัวอย่างที่ต้องการใช้งาน
4. คลิกปุ่ม Save บันทึกภาพ
5. เลือกตำแหน่งโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บ
6. กำหนดชื่อไฟล์ภาพ
7. คลิกปุ่ม Save
การเลือกใช้ชุดออปชั่นสำเร็จรูปในการบันทึก
เมื่อต้องการผลลัพธ์แบบรวดเร็ว คุณสามารถเลือกออปชั่นสำเร็จรูปในการแปลงไฟล์ได้จากช่อง Setting ก็จะได้ภาพตามรายละเอียดในชุดออปชั่นที่เลือก
1. เมื่อเลือก file > Save for web เข้ามาแล้วคลิกเลือกภาพตัวอย่าง ภาพใดภาพหนึ่ง
2. เลือกออปชั่นที่ช่อง Prest ภาพตัวอย่างตามข้อ 1 จะแสดงผลของออปชั่นที่เลือก
3. เปรียบเทียบภาพตัวอย่างกับภาพต้นฉบับ
4. เมื่อพอใจภาพตัวอย่างภาพใด ก็คลิกเลือกภาพนั้นแล้วคลิกปุ่ม Save จากไดอะล็อกบ็อกซ์ Save for web
5. กำหนดชื่อไฟล์รูปภาพ และเลือกตำแหน่งเก็บไฟล์ คลิกปุ่ม Save จากไดอะล็อกบ็อกซ์ Save Optimized As
ที่มา :  http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/33

2.2.3 การแต่งและตัดภาพเฉพาะส่วน
       1. การกำหนดพื้นหลังของภาพ
เป็นการกำหนดภาพ  หรือสีพื้นหลัง  โดยภาพหรือสีพื้นหลังที่ใช้นั้นควรมีโทนสีให้อารมณ์และสื่อความหมาย
ได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของชิ้นงาน
      2. การเลือกพื้นที่ภาพที่ใช้งาน
เป็นการตัด  หรือคัดลอกบางส่วนของภาพต่างๆ  ที่เราจะนำมาใช้ในชิ้นงานของเรา
      3. การจัดวางภาพให้เหมาะสมการนำภาพส่วนประกอบมารวมกันเป็นชิ้นงาน  อาจมีบางภาพที่มีขนาด
และมุมการจัดวางไม่ลงตัว  เราก็สามารถขยาย  หมุน  และบิดภาพให้เข้ากัน
     4. การใส่ข้อความเป็นการใส่ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง  หรือคำบรรยายต่างๆ เข้าไปตกแต่งเพิ่มเติม
     5. การนำภาพส่วนประกอบมาจัดซ้อนกัน
การนำภาพส่วนประกอบที่เลือกไว้มาทำการซ้อนกัน  โดยบางส่วนอาจจะอยู่ด้านบน  หรือด้านล่าง
ตามจุดประสงค์ที่วางไว้
    6. ตกแต่งทุกส่วนประกอบเข้ากันอย่างกลมกลืน
สุดท้ายจะพิจารณาภาพรวมชิ้นงานที่ได้  และปรับแต่งรายละเอียดของภาพประกอบแต่ละส่วนให้ดูกลมกลืนกัน
เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม
ที่มา : สร้างงานกราฟิก และตกแต่งภาพอย่างไร้ขีดจำกัดด้วย GIMP สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม
ซอฟแวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักพิมพ์บริษัทซัคเซส มีเดีย จำกัด
ในหลายครั้งเราต้องการภาพเพียงบางส่วน จึงต้องทำการตัดภาพในส่วนที่ไม่ต้องการออกไป ซึ่งวีธีทำก็มีอยู่หลายวิธี การจะเลือกว่าใช้วิธีไหนขึ้นอยู่กับภาพที่จะทำ ว่าเหมาะสมกับวิธีใด ลองทำการตัดภาพบุคคลออกจากพื้นหลัง ให้เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการออกมา

                                               
   

      จากนั้นเลือกว่าจะใช้วิธีไหน ถ้าหากว่าสีพื้นหลังกับสีของส่วนที่ต้องการ มีความตัดกันมาก การใช้  ก็จะสะดวกดี โดยค่อยๆเลือกส่วนรอบนอก แล้วทำการ Delete
      ถ้าหากว่าสีของพื้นหลังมีหลากหลายหรือมีส่วนคล้ายส่วนที่ต้องการอยู่มาก วิธีนี้คงไม่เหมาะสม ก็จะใช้วิธี select โดยใช้เครื่องมือ  โดยซูมเข้าไปแล้วค่อยๆ select ไปทีละจุด      
      จนครบรอบของภาพที่ต้องการก็จะได้ เป็น selection รอบตัวแบบ
      จากนั้นทำการ inverse โดยไปที่ Select > Inverse แล้วกดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด
ก็จะได้ส่วนที่ต้องการมา นอกจากวิธีนี้ บางทีอาจใช้ยางลบ ลบส่วนที่ไม่ต้องการออกไปก็ได้
       เมื่อได้ภาพแล้วก็ทำการ save สามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆ            

2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 เริ่มต้นกับ Photoshop CS6
จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ ระดับพื้นฐาน (basic) ระดับกลาง หรือ เริ่มพอจะรู้เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป และการใช้งานเครื่องมือของโปรแกรม Photoshop CS6 ขึ้นมาบ้างแล้ว (intermediate) ในระดับนี้จะเป็นวิธีการใช้งานเชิงประยุกต์มากขึ้น และส่วนสุดท้ายคือ ขั้นสูง (advance) เป็นเทคนิคการใช้งานเฉพาะด้านสำหรับเทคนิคที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ขั้นพื้นฐาน (basic)สำหรับ Photoshop CS6 ระดับ basic สำหรับน้องๆ หรือ เพื่อนๆ ที่เป็นมือใหม่หัดเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างโปรแกรม และเครื่องไม้เครื่องมือหลักๆที่จำเป็นต้องใช้งานประจำ
โปรแกรม Photoshop CS6 ประกอบไปด้วย
1. เมนูของโปรแกรม Application Menu
2. เมนูของพื้นที่ทำงาน Panel Menu
3. เครืองมือใช้งาน Tool และ ส่วนควบคุมการใช้เครื่องมือ Tool Contorl Menu
รูปด้านล่างเป็นหน้าตาของโปรแกรม ผมได้แสดงส่วนสำคัญหลักต่างๆ ไว้ให้เห็น สำหรับรายละเอียดของแต่ละส่วน จะแสดงให้เห็นในการสอนแต่ละบทความ ซึ่งจะดีกว่า และเข้าใจมากกว่า เพราะไม่ต้องการให้ท่องจำ ว่าส่วนนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ประมาณนั้น เรียนรู้จารการใช้งานจริงดีกว่า

Photoshop CS6 layout
1. วิธีเปิดและปิดโปรแกรม (Opening an Image and Closing work)การเปิดไฟล์ภาพให้แสดงในโปรแกรม Photoshop CS6 :หรือ TIFF โปรแกรมวินโดส์จะเปิดจากโปรแกรม Window photo viewer ซึ่งเป็น Default program
 วิธีเปิดไฟล์ภาพจากหน้า Windows Desktop – การเปิดไฟล์ภาพ ไม่ว่าจะนามสกุล JPG, PNG, GIFหรือ TIFF โปรแกรมวินโดส์จะเปิดจากโปรแกรม Window photo viewer ซึ่งเป็น Default program แต่ถ้าเราต้องการเปิดไฟล์ภาพแล้วให้เปิดจาก Photoshop มีวิธีที่จะทำให้เปิดไฟล์ภาพเหล่านี้โดย การคลิกขวาที่ไฟล์ภาพ แล้วเลือก Open with – Chosse default program – เลือกโปรแกรม Photoshop แต่ถ้าไม่เห็นโปรแกรม ให้คลิกที่ ลูกศรของ Other program ถ้ายังไม่เห็นอีก ต้องคลิกปุ่ม Browse เพื่อไปที่ซึ่งเก็บไฟล์โปรแกรม หลังจากนี้ทุกครั้งที่เราดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ภาพ ก็จะเปิดด้วยโปรแกรม Photoshop

2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ
              คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น การทำตกแต่งภาพที่เรียกว่า Image Retouching ภาพคนแก่ ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ
ภาพกราฟิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และแบบ 3 มิติ
ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด สัญลักษณ์ การ์ตูนต่าง ๆ ในโทรทัศน์ เช่น ชินจัง โดเรม่อน
ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ เช่น 3D max, Maya ทำให้ได้ภาพที่มีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะสำหรับการออกแบบและสถาปัตยกรรม เช่น การผลิตรถยนต์ และภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติ

บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และระบบงานปัจจุบัน


บทที่ 2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และระบบงานปัจจุบัน
2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
       2.1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
       2.1.2  หนังสือ มือใหม่ Photoshop CS6 หัดแต่งภาพให้สวยโดยใจ ผู้แต่ง
                1. ปิยะ นากสงค์
                2. มณีนุช สมานหมู่
                3.พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร
2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 เริ่มต้นกับ Photoshop CS6
2.2.2 หลักการสร้างงานกราฟิก
2.2.3 การแต่งและตัดภาพเฉพาะส่วน
2.2.4 การจัดว่างและการจัดรูปทรง
2.2.5 การสร้างข้อความตกแต่งภาพ
2.2.6 การทำงานกับเลเยอร์
2.2.7 เทคนิคการตกแต่งภาพในเลเยอร์
2.2.8 การปรับแต่งภาพ
2.2.9 การรีทัชภาพ
2.2.10 ตกแต่งภาพอย่างสร้างสรรค์ด้วยฟิลเตอร์

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาและค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สื่อการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ การศึกษา การใช้งานภาครัฐ ซึ่งในปัจจุบันคอมพิวเตอร์กราฟิก สามารถนำมาประยุกต์ใช้อะไรได้มากมายหลายอย่าง
ความหมายของ Computer Graphic Computer Grapic" กราฟิก " (Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ (Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้ วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ
ดังนั้นกลุ่มผู้จัดทำจึงมีความคิดเห็นตรงกันว่าจะจัดทำการผลิตสื่อการเรียนรู้วิชาโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการตกแต่งหรือแก้ไขรูปภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประยุกต์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
2.เพื่อทราบวิธีการแก้ไขรูปภาพ
3.เพื่อทราบขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
4.สามารถใช้โปรแกรม Photoshop CS6

วัสดุอุปกรณ์
1.เครื่องคอมพิวเตอร์
2.เครื่องพิมพ์
3.รูปภาพ
4.โปรแกรม Photoshop CS6
5.เฟลชไดร์ฟ

งบประมาณ
1.ค่ากระดาษ A4 =   120 บาท
2.ค่าปริ้น                 =   200  บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกได้
2. ทราบวิธีการแก้ไขรูปภาพ
3. ทราบขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
4. สามารถใช้โปรแกรม Photoshop CS6